ศวพช.เคลื่อนถอดบทเรียน เปลี่ยน “เอ๊ะ” ให้ เป็น “อ๋อ”… พื้นที่ขอ เดินหน้า พร้อมลุย พัฒนาการดำเนินงานธนาคารเวลาสำหรับทุกกลุ่มวัยภาษีเจริญให้เป็นรูปธรรม ภายใต้สโลแกน ทำที่ “ใช่” ให้ที่ “ชอบ” ออม “เวลา” แทน “เงิน”

ศวพช.เคลื่อนถอดบทเรียน เปลี่ยน “เอ๊ะ” ให้ เป็น “อ๋อ”… พื้นที่ขอ เดินหน้า พร้อมลุย พัฒนาการดำเนินงานธนาคารเวลาสำหรับทุกกลุ่มวัยภาษีเจริญ
ให้เป็นรูปธรรม ภายใต้สโลแกน ทำที่ “ใช่” ให้ที่ “ชอบ” ออม “เวลา” แทน “เงิน”

      วันที่ 6 ตุลาคม 2565 ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (ศวพช.) มหาวิทยาลัยสยาม เคลื่อนถอดบทเรียนการดำเนินงาน เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ธนาคารเวลารองรับสังคมสูงวัย รู้จัก เข้าใจ ธนาคารเวลารองรับสังคมสูงวัย : นวัตกรรมใหม่ของสังคมไทย โดยมี ผศ.ดร.กุลธิดา จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน พร้อม ผศ.ดร.เนตร หงษ์ไกรเลิศ ทีมงานศวพช. และ ผู้แทน 6 พื้นที่ธนาคารเวลาสำหรับทุกกลุ่มวัยภาษีเจริญ ที่เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการนำบทเรียนการดำเนินงานธนาคารเวลา ไปสู่การแลกเปลี่ยนกับ 8 ภาคีเครือข่ายธนาคารเวลา ที่สะท้อนการดำเนินงานธนาคารเวลาสู่การแลกเปลี่ยนกับพื้นที่อื่น ๆ

อีกทั้งการจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้ คณะทำงานยังได้ร่วมระดมความคิด ปรับแผน เปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงาน ธนาคารเวลาสำหรับทุกกลุ่มวัยภาษีเจริญ โดยยึดหลักการดำเนินงานธนาคารเวลา 10 ข้อ และได้สะท้อนผลการดำเนินงานธนาคารเวลาในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อหาข้อสรุป และนำผลที่ได้ใช้เป็นบทเรียน เพื่อการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป…..

    ทุกพื้นที่ตอบ….พร้อมเดินหน้าทุกสาขา…โดยยึดหลักธนาคารเวลาเดียวกัน แม้กระบวนการอาจต่างกัน คือ
          ✔️ความเท่าเทียม
         ✔️การมีคุณค่า
         ✔️และความไว้วางใจ เชื่อใจ
    โดยใช้การ ออม “เวลา” ไว้ใช้ แทน “เงิน” (ภายใต้สโลแกน ทำที่ “ใช่” คือใช่ปัญหาของเพื่อนสมาชิก ให้ที่ “ชอบ” คือ ให้ตามทักษะ ของสมาชิกที่ฝากไว้กับธนาคารเวลา)